top of page

แบคทีเรีย

ปัจจุบันนักจุลชีววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับแบคทีเรียจัดหมวดหมู่แบคทีเรียออกเป็น 13 Phylum คือ
     1. Proteobacteria (Phylum I)

แบคทีเรียทุกชนิดในไฟลัมนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ (Gram-Negative Bacteria) ซึ่งมีความหลากหลายของกระบวนการเมตาบอลิสมในระดับที่สูง ปัจจุบันพบว่า Proteobacteria เป็นกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มใหญ่ หลายชนิดมีความสำคัญทั้งในทางการแพทย์ อุตสาหกรรม และการเกษตร ตัวอย่างของแบคทีเรียในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 17 กลุ่ม คือ 1. Purple Phototrophic Bacteria 2. Nitrifying Bacteria 3. Sulfur-and Iron-Oxidizing Bacteria 4. Hydrogen-Oxidizing Bacteria 5. Methanotrophs and Methylotrophs 6. Pseudomonas and the Pseudomonads 7. Acetic Acid Bacteria 8. Free-Living Aerobic Nitrogen-Fixing Bacteria 9. Neisseria , Chromobacterium , and Relatives 10. Enteric Bacteria 11. Vibrio and Photobacterium 12. Rickettsias 13. Spirilla 14. Sheathed Proteobacteria 15. Budding and Prosthecate/Stalked Bacteria 16. Gliding Myxobacteria 17. Sulfate-and Sulfur-Reducing Bacteria
     2. Gram-Positive Bacteria (Phylum II)

แบคทีเรียในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มย่อย คือ1. Nonsporulating, Low GC, Gram-Positive Bacteria2. Endospore-Forming Gram-Positive Rods and Cocci3. Cell Wall-Less, Low GC, Gram-Positive Bacteria4. High GC, Gram-Positive Bacteria: Coryneforms and Propionic Acid Bacteria5. High GC, Gram-Positive Bacteria: Mycobacterium6. Filamentous, High GC, Gram-Positive Bacteria: The Actinomycetes
     3. Cyanobacteria, Prochlorophytes, and Chloroplasts (Phylum III)

 แบคทีเรียในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1.Cyanobacteria
      เป็นแบคทีเรียแกรมลบ พบทั้งเซลล์เดี่ยว ( สกุล Anacystis , Synechococcus , Pleurocapsa    ) หรือเป็นเส้นใย ( สกุล Anabena , Nostoc , Oscillatoria    ) เคลื่อนที่แบบ gliding พบ gas vesicles เป็นองค์ประกอบในเซลล์ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic oxygenic photolithotroph แบคทีเรียในกลุ่มนี้พบ phycobiliproteins และ Chlorophyll a (อธิบายเพิ่มเติม)
2.Prochlorophytes and Chloroplasts 
     เป็นแบคทีเรียแกรมลบ เซลล์มีรูปร่างกลม ( สกุล Prochloron    ) หรือเป็นเส้นใย ( สกุล Prochlorothrix    ) กลุ่มนี้จะพบ thylakoid membrane system ซึ่งมี chlorophyll a หรือ chlorophyll b แต่ไม่พบ phycobiliproteins กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic oxygenic photolithotrophy

     4. Chlamydias (Phylum IV)

เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2-1.5 ?m ไม่เคลื่อนที่ ไม่มี peptidoglycan เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic chemoorganotrophy พบโครงสร้างที่เรียกว่า reticulate bodies และ elementary bodies แบคทีเรียในไฟลัม Chlamydias เป็น obligate intracellular parasite 
     5. Planctomyces    / Pirella    (Phylum V)

เป็นแบคทีเรียแกรมลบ เซลล์รูปไข่อยู่บนโครงสร้างที่เรียกว่า stalk ที่มีลักษณะเล็กและบาง บริเวณส่วนนอกเซลล์พบ pili และ flagellum ผนังเซลล์ไม่มี peptidoglycan แต่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ กลไกเพิ่มจำนวนเซลล์หรือแบ่งเซลล์ คือ budding กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ facultative anaerobic chemoorganotrophy พบได้โดยทั่วไปในแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็ม
     6. Bacteroides    / Flavobacteria     (Phylum VI)

แบคทีเรียสกุล Bacteroides , Flavobacterium และ Cytophaga เป็นสมาชิกของไฟลัม แบคทีเรียดังกล่าวเป็นแบคทีเรียแกรมลบ เซลล์มีรูปท่อนตรง ท่อนโค้ง หรือท่อนเกลียว ขนาด 0.5 x 0.5-10 ?m ไม่เคลื่อนที่ หรือเคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลา บางสกุลโคโลนีมีสีเหลือง บางสกุลเคลื่อนที่แบบ gliding กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic or anaerobic chemoorganotrophyพบได้ทั่วไปในดิน ขอนไม้ที่กำลังผุพัง ช่องปากและทางเดินอาหารของมนุษย์และสัตว์
     7. Green Sulfur Bacteria (Phylum VII)

เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน กลม หรือเป็นเกลียว ไม่เคลื่อนที่ โดยมากจะพบการสะสม sulfur granules ด้านนอกเซลล์ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ anaerobic photolithotrophy พบ bacteriochlorophyll ในโครงสร้างที่เรียกว่า chlorosomes โดยส่วนใหญ่จะใช้ hydrogen sulfide, sulfur, thiosulfate หรือ hydrogen เป็นแหล่งของอิเลกตรอน มีรายงานว่าพบแบคทีเรียไฟลัมดังกล่าวในทะเลสาบที่มี sulfide ในปริมาณสูง
     8. Tightly Coiled Bacteria: The Spirochetes (Phylum VIII)

แบคทีเรียในไฟลัมนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนเกลียว ยาว ขนาด 0.1-5 x 0.75-250 ?m เคลื่อนที่ได้โดยใช้ axial filament กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic, microaerophilic, facultatively aerobic หรือ anaerobic chemoorganotrophy ในธรรมชาติพบทั้งพวกที่ดำรงชีวิตอย่างอิสระ (สกุล Spirochaeta ) เป็น symbionts (สกุล Cristispira ) หรือเป็นพาราไซต์ในสิ่งมีชีวิตอื่น ( สกุล Borrelia , Treponema , Leptospira )
     9. Deinococci (Phylum IX)

เป็นแบคทีเรียแกรมบวกที่มี outer membrane กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic chemoorganotrophy แบคทีเรียในไฟลัมนี้ทนต่อรังสีชนิดต่างๆได้ดี ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียที่เจริญที่อุณหภูมิสูง ที่รู้จักกันดี คือ Thermus aquaticus ที่ใช้ผลิต Taq polymerase
     10. Green Nonsulfur Bacteria (Phylum X)

Green nonsulfur bacteria เป็นแบคทีเรียแกรมลบ ที่มีลักษณะเซลล์เป็นเส้นสาย เคลื่อนที่โดยใช้วิธี gliding ส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ obligately anaerobic photolithotrophy or chemoorganotrophy พบ bacteriochlorophyll ใน chlorosomes ใช้ hydrogen sulfide, sulfur, thiosulfate หรือ hydrogen เป็นแหล่งของอิเลกตรอน ที่เยื่อหุ้มเซลล์ไม่พบ glycerol และ ester- หรือ ether-linkage ในส่วนที่เป็นไขมัน แหล่งที่พบในธรรมชาติ คือ ในทะเลสาบที่มี sulfide ในปริมาณสูง
     11. Thermotoga     (Phylum XI)

เป็นแบคทีเรียแกรมลบ ที่มี sheath-like envelope ส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ anaerobic chemoorganotrophy พบมากตามบ่อน้ำพุร้อน
     12. Thermodesulfobacterium    (Phylum XII)

เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน ไขมันที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์เป็นแบบ ether-linked lipid คล้ายกับ archaebacteria ใน Domain Archaea ส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญ คือ 70 o C กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ anaerobic chemoorganotrophy มักพบตามแหล่งธรรมชาติที่มี sulfate ปริมาณสูง พบมากตามบ่อน้ำพุร้อน
     13. Aquifex     and Relatives (Phylum XIII)​

เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน ส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญ คือ 85 o C อย่างไรก็ตามที่อุณหภูมิ 95 o C สามารถพบการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มนี้ได้ จากคุณลักษณะดังกล่าวจึงจัดแบคทีเรียนี้เป็น hyperthermophilic bacteria กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic chemolithotrophy มักพบได้ตามปล่องภูเขาไฟใต้ทะเลลึก ดังนั้นจึงเรียกแบคทีเรียในไฟลัมนี้ว่า submarine volcanic hot spring bacteria

Chlamydias

 อาร์คีแบคทีเรีย(แบคทีเรียโบราณ)ทุกชนิดถูกจัดหมวดหมู่อยู่ใน Domain Archaea เนื่องจาก SSU rDNA มีความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์เมื่อเทียบจากยีนเดียวกันของแบคทีเรีย อาร์คีแบคทีเรียมีลักษณะเซลล์แบบเซลล์โพรแคริโอต เซลล์มีขนาด 0.1-15 x 0.3-6 ?m เยื่อหุ้มเซลล์ของ
      อาร์คีแบคทีเรียมีองค์ประกอบทางเคมีคล้ายกับเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรียและจุลินทรีย์ยูแคริโอต เพียงแต่ไขมันที่เป็นองค์ประกอบเป็นชนิด ether-linked lipid องค์ประกอบทางเคมีของผนังเซลล์อาร์คีแบคทีเรียแตกต่างจากแบคทีเรียตรงที่ไม่พบ peptidoglycan เป็นองค์ประกอบ แต่พบ pseudopeptidoglycan นอกเหนือไปจาก polysaccharides, glycoproteins และ proteins โครงสร้างของเซลล์ประกอบด้วยผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม นิวคลีออยด์ ไรโบโซม พลาสมิด แกรนูลชนิดต่างๆ นอกจากนี้ในบางชนิดสามารถสร้างแคปซูล และเคลื่อนที่ได้โดยอาศัยแฟลกเจลลา โดยทั่วไปมักพบอาร์คีแบคทีเรียในแหล่งอาศัยตามธรรมชาติที่มีสภาวะวิกฤต (extreme condition) เช่น อุณหภูมิหรือความเข้มข้นของเกลือสูงมากจนสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไปไม่สามารถเจริญได้ นอกจากนี้ยังพบอาร์คีแบคทีเรียเจริญในแหล่งอาศัยที่มีความเป็นด่างค่อนข้างสูง หรือสูงมากด้วยเช่นกัน ปัจจุบันแบ่งอาร์คีแบคทีเรียออกเป็น 3 ไฟลัม คือ

      1. Phylum I Euryarchaeota เป็นไฟลัมที่มีความหลากหลายของอาร์คีแบคทีเรียมากที่สุด แบ่งออกเป็นกลุ่มๆได้ 5 กลุ่ม คือ 1. Extreme Halophiles 2. Methanogens 3. Extreme Thermophiles 4. Sulfate Reducers 5. Wall-Less Archaea
     2. Phylum II Crenarchaeota อาร์คีแบคทีเรียไฟลัมนี้เป็นกลุ่ม Extreme thermophiles อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญต้องสูงมากกว่า 80 o C กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ strictly anaerobic chemolithotrophy ตัวอย่างของอาร์คีแบคทีเรียในไฟลัมนี้ คือ สกุล Desulfurococcus
     3. Phylum III Korarchaeota อาร์คีแบคทีเรียไฟลัมนี้เป็นกลุ่ม Extreme thermophiles ที่ถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ ข้อมูลในด้านต่างๆยังไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ ยกเว้น SSU rDNA data

FOLLOW US:

  • Google+ B&W
  • Facebook B&W
  • LinkedIn B&W

© 2023 by Funeral Home. Proudly created with Wix.com

bottom of page