top of page

โพรโตซัว

โปรโตซัวเป็นจุลินทรีย์ที่ถูกจัดหมวดหมู่ไว้ใน Domain Eukarya เช่นเดียวกับจุลินทรีย์
ยูแคริโอตกลุ่มอื่นๆ เพียงแต่มีความแตกต่างกันของ lineages ลักษณะสัณฐานวิทยาของเซลล์เป็นเซลล์เดี่ยว จึงจัดเป็น unicellular eukaryotic microorganism โดยทั่วไปไม่พบการสร้างรงควัตถุ และสามารถเคลื่อนที่ได้ โปรโตซัวแตกต่างจากเชื้อราโดยโปรโตซัวไม่มีผนังเซลล์ แตกต่างจากสาหร่ายตรงที่โปรโตซัวไม่มีรงควัตถุชนิดต่างๆ โดยเฉพาะรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง mode of nutrition ของโปรโตซัว คือ ingestion ซึ่งแตกต่างจากจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆ โปรโตซัวบางชนิดเป็น predators โดยเฉพาะโปรโตซัวที่กินแบคทีเรีย และจุลินทรีย์ยูคาริโอตกลุ่มอื่นเป็นอาหาร เนื่องจากโปรโตซัวส่วนใหญ่สามารถเคลื่อนที่ได้ จึงใช้คุณลักษณะดังกล่าวนอกเหนือไปจากการเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ของ SSU rDNA ในการจัดหมวดหมู่ของโปรโตซัว ปัจจุบันจัดโปรโตรซัวไว้ใน 7 phylum คือ

1.Phylum Sarcomastigophora 
     โปรโตซัวในไฟลัมนี้เคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลา หรือใช้ pseudopodia หรือพบทั้งแฟลกเจลลา และ pseudopodia การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเป็นแบบที่เรียกว่า syngamy ภายในเซลล์พบ 1 นิวเคลียส โปรโตซัวในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 2 Subphylum คือ

      1.1 Subphylum Mastigophora พบแฟลกเจลลา 1 หรือมากกว่า 1 เส้น เพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ของเซลล์แบ่งเซลล์แบบ longitudinal binary fission พบการสืบพันธุ์แบบมีเพศในบางชนิด การดำรงชีวิตส่วนใหญ่อาศัยโฮสต์ (hosts) กล่าวคือ ส่วนใหญ่เป็น parasites ตัวอย่างโปรโตซัวใน subphylum ดังกล่าว คือ Giardia , Leishmania , Trichomonas , Trichonympha และ Trypanosoma 
      1.2. Subphylum Sarcodina 
      โดยทั่วไปเซลล์เคลื่อนที่โดยใช้ pseudopodia อย่างไรก็ตามในช่วงที่พบ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ การเคลื่อนที่จะอาศัยการทำงานของแฟลกเจลลา การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศใช้กลไก fission ส่วนมากดำรงชีวิตอย่างอิสระ (free-living) โปรโตซัวใน subphylum นี้ เช่น Amoeba , Coccodiscus    และ Elphidium    เป็นต้น 

2.Phylum Labyrinthomorpha
      โปรโตซัวในไฟลัม Labyrinthomorpha รูปร่างของเซลล์เป็น spindle-shape พบ ectoplasmic network เป็น nonamoeboid cells เป็น saprozoic และ parasites ของสาหร่ายและหญ้าทะเล โปรโตซัวในไฟลัมนี้ เช่นLabyrinthula    เป็นต้น

3.Phylum Apicomplexa
      โปรโตซัวในไฟลัมนี้พบ spore-forming stage ในวงจรชีวิต การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเป็นแบบที่เรียกว่า syngamy ทุกชนิดเป็น parasites ต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ โดบปกติจะพบการสร้าง Cysts ไม่มี Cilia จึงเรียกโปรโตซัวกลุ่มนี้ว่า Sporozoa ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ตัวอย่างโปรโตซัวในไฟลัมนี้ เช่น Cryptosporidium , Plasmodium   และ Toxoplasma    เป็นต้น

4.Phylum Microspora
      ลักษณะเด่นของโปรโตซัวกลุ่มนี้ คือ สร้าง unicellular spore ซึ่งใน spiroplasm พบ polar filament เป็น obligate intracellular parasites ตัวอย่างโปรโตซัวในไฟลัมนี้ คือ Nosema  

5.Phylum Ascetospora
     ลักษณะเด่นของโปรโตซัวกลุ่มนี้ คือ พบ spiroplasm 1 หรือมากกว่า 1 และไม่พบ polar filament ภายในสปอร์ ทุกชนิดเป็นพาราไซต์ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ตัวอย่างโปรโตซัวในไฟลัมนี้ คือ Haplosporidia

6.Phylum Myxozoa
     ลักษณะเด่นของโปรโตซัวกลุ่มนี้ คือ พบ polar capsule ทุกชนิดเป็นพาราไซต์ของปลา ตัวอย่างโปรโตซัวในไฟลัมนี้ คือ Myxosoma 

7.Phylum Ciliophora
       ลักษณะเด่นของโปรโตซัวกลุ่มนี้ คือ เคลื่อนที่โดยใช้ Cilia พบนิวเคลียส 2 ชนิด คือ micronucleus และ macronucleus พบ contractile vacuoles สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยวิธี transverse binary fission การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศใช้กระบวนการ conjugation ส่วนใหญ่เป็น free-living หรือดำรงชีวิตแบบอิสระ บางชนิดอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นแบบ commensalisms หรือ parasitism ตัวอย่างของโปรโตซัวในกลุ่มนี้ เช่น Paramecium , Tetrahymena    และ Vorticella    เป็นต้น

โปรโตซัว
โปรโตซัว1
โปรโตซัว2
โปรโตซัว4
โปรโตซัว3

FOLLOW US:

  • Google+ B&W
  • Facebook B&W
  • LinkedIn B&W

© 2023 by Funeral Home. Proudly created with Wix.com

bottom of page